นาโนบับเบิ้ล Nano-Bubble Generator
เทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ลกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
นาโนบับเบิ้ล (ฺNanobubble) เป็นเทคโนโลยีฟองอาศที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากระดับนาโนเมตร
โดยฟองอากาศระดับนาโน (Nanobubble) มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 200 นาโนเมตร มีขนาดเล็กมาก
ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและคงอยู่ในน้ำได้นานกว่าฟองอากาศทั่วไปเป็นเวลานานหลายเท่า เนื่องจากนาโนบับเบิ้ล
มีพื้นผิวของอากาศจำนวนมาก ไม่รวมตัวกันเป็นฟองขนาดใหญ่ ทำให้สามารถละลายหรือแทรกตัวในตัวกลาง
ที่เป็นของเหลว เช่น น้ำ ได้มากว่าสภาวะปกติหลายเท่าตัว และทำให้มีแรงลอยตัวต่ำ จึงทำให้การลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ
ช้ากว่าฟองอากาศทั่วไป
นอกจากฟองอากาศอนุภาคขนาดนาโน หรือ นาโนบับเบิ้ล เหล่านี้จะมีขนาดเล็กมากและสามารถคงตัว
อยู่ในน้ำได้นานแล้ว นาโนบับเบิ้ลยังมีพื้นผิวของอากาศจำนวนมหาศาลและมีประจุลบล้อมรอบจำนวนมาก
ทำให้นาโนบับเบิ้ลมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากฟองอากาศทั่วไป ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นมีการนำมาประยุกต์ในด้านต่าง ๆ มากมาย
เช่น การบำบัดน้ำเสีย การทำความสะอาดพื้นผิว ตลอดจนการเกษตรกรรม และการประมง
เทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ลกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยมีการพัฒนารูปแบบในเชิงธุรกิจมากขึ้น โดยการเลี้ยงสัตว์น้ำ
แบบความหนาแน่นสูง (Intensive system) การจัดการน้ำด้วยระบบกึ่งปิดหรือระบบปิดที่มีการหมุนเวียนน้ำที่ผ่านการบำบัด
ให้มีคุณภาพดีแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อช่วยประหยัดน้ำและป้องกันการติดเชื้อจากภายนอก อย่างไรก็ตามปัญญหาที่พบบ่อย
คือการขาดออกซิเจน และคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมอันเกิดจากการสะสมของเสียภายในบ่อ ซึ่งมากจากสิ่งขับถ่ายและเศษอาหาร
เหลือตกค้าง ซึ่งออกซิเจนเป็นปัจจัยสำคัญประกาและรหนึ่งต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์น้ำและจุลินทรีย์ที่อยู่ในบ่อ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียภายในบ่อได้ ดังนั้นเทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ลจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการละลายของก๊าซออกซิเจนในน้ำได้ดีขึ้นและอยู่ได้นานขึ้น และยังช่วยบำบัดคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นอีกด้วย
นาโนบับเบิ้ล (ฺNanobubble) เป็นเทคโนโลยีฟองอาศที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากระดับนาโนเมตร
โดยฟองอากาศระดับนาโน (Nanobubble) มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 200 นาโนเมตร มีขนาดเล็กมาก
ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและคงอยู่ในน้ำได้นานกว่าฟองอากาศทั่วไปเป็นเวลานานหลายเท่า เนื่องจากนาโนบับเบิ้ล
มีพื้นผิวของอากาศจำนวนมาก ไม่รวมตัวกันเป็นฟองขนาดใหญ่ ทำให้สามารถละลายหรือแทรกตัวในตัวกลาง
ที่เป็นของเหลว เช่น น้ำ ได้มากว่าสภาวะปกติหลายเท่าตัว และทำให้มีแรงลอยตัวต่ำ จึงทำให้การลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ
ช้ากว่าฟองอากาศทั่วไป
นอกจากฟองอากาศอนุภาคขนาดนาโน หรือ นาโนบับเบิ้ล เหล่านี้จะมีขนาดเล็กมากและสามารถคงตัว
อยู่ในน้ำได้นานแล้ว นาโนบับเบิ้ลยังมีพื้นผิวของอากาศจำนวนมหาศาลและมีประจุลบล้อมรอบจำนวนมาก
ทำให้นาโนบับเบิ้ลมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากฟองอากาศทั่วไป ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นมีการนำมาประยุกต์ในด้านต่าง ๆ มากมาย
เช่น การบำบัดน้ำเสีย การทำความสะอาดพื้นผิว ตลอดจนการเกษตรกรรม และการประมง
เทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ลกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยมีการพัฒนารูปแบบในเชิงธุรกิจมากขึ้น โดยการเลี้ยงสัตว์น้ำ
แบบความหนาแน่นสูง (Intensive system) การจัดการน้ำด้วยระบบกึ่งปิดหรือระบบปิดที่มีการหมุนเวียนน้ำที่ผ่านการบำบัด
ให้มีคุณภาพดีแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อช่วยประหยัดน้ำและป้องกันการติดเชื้อจากภายนอก อย่างไรก็ตามปัญญหาที่พบบ่อย
คือการขาดออกซิเจน และคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมอันเกิดจากการสะสมของเสียภายในบ่อ ซึ่งมากจากสิ่งขับถ่ายและเศษอาหาร
เหลือตกค้าง ซึ่งออกซิเจนเป็นปัจจัยสำคัญประกาและรหนึ่งต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์น้ำและจุลินทรีย์ที่อยู่ในบ่อ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียภายในบ่อได้ ดังนั้นเทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ลจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการละลายของก๊าซออกซิเจนในน้ำได้ดีขึ้นและอยู่ได้นานขึ้น และยังช่วยบำบัดคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นอีกด้วย
แนะนำนาโนเทคโนโลยี กับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ