Spirulina Powder Feed Animal Grade (1 kg)
สาหร่ายสไปรูลิน่า กับประโยชน์ด้านอาหารสัตว์
สาหร่ายสไปรูลิน่านอกจากใช้เป็นอาหารมนุษย์แล้ว บางส่วนยังนำไปผสมในอาหารสัตว์เพื่อใช้เป็นแหล่งโปรตีนช่วยเพิ่มคุณภาพและอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์
การศึกษาแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับหอยทากอเมริกาใต้ (Haliotis midae) โดยใช้แหล่งโปรตีน 5 ชนิด ได้แก่ เคซีน ปลาป่น ก้อนน้ำมัน ถัวเหลือง ทอรูลายีสต์
และสาหร่ายสไปรูลิน่า ซึ่งอาหารทุกสูตรมีส่วนประกอบของโปรตีนและไขมันในสัดส่วน 30% และ 5% ของส่วนผสมทั้งหมด ตามลำดับ ยกเว้นสูตรที่เติม
สาหร่ายสไปรูลิน่ามีส่วนผสมโปรดตีน 19% ของส่วนผสมทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า หอยทากกลุ่มที่กินอาหารผสมสาหร่ายและปลาป่นมีอัตราการเจริญเติบโต
สูงกว่ากลุ่มที่กินอาหารควบคุมและอาหารสูตรอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยผลวิจัยสรุปว่า ปลาป่นและสาหร่ายสไปรูลิน่าเป็นแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับ
หอยทาก (Britz, 1996) นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยที่กล่าวถึงผลของสาหร่ายสไปรูลิน่าต่ออัตราการเจริญและการรอดชีวิต การเพิ่มภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยให้คุณภาพเนื้อ (tissue quality) ของสัตว์เศรษฐกิจดีขึ้น
สาหร่ายสไปรูลิน่าผงเป็นอาหารเสริมของสัตว์ต่างๆ เช่น อาหารปลา อาหารสัตว์ปีก อาหารสัตว์น้ำ อาหารสัตว์น้ำทั่วไป
เพิ่มการเจริญเติบโตและการรอดชีวิต
การศึกษาในกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbrgii) พบว่าการให้อาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า 5-10% สามารถช่วยเพิ่มการเจริญเติบโต การอยู่รอด
และการใช้ประโยชน์จากอาหาร (feed utilization) (Nakagawa and Gomez-Diaz, 1995) ซึ่งการศึกษากับนกกระทาก็ได้ผลทำนองเดียวกันคือ
นกกระทาที่กินอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า 1.2 - 10% จะมีความสามารถในการให้ลูก (fertility) การฟักไข่ (hatchability) และการผลิตไข่ (egg production) สูงขึ้น
ทั้งนี้การให้อาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า 0.2% ทำให้อัตราการตายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ประมาณ 20 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (Ross and Dominy, 1990;
Sakakibara and Hamada, 1994) หรือการผสมสาหร่ายสไปรูลิน่าในอาหารหอยเป๋าฮื้อ (abalone) หอยสองฝา (scallops) และกุ้ง (penaeid) แทนสาหร่าย
ขนาดเล็กอื่นๆ ช่วยทำให้ต่อมรังไข่ของหอยสองฝามีการพัฒนาความสามารถในการให้ลูก และมีอัตราการฟังสูงขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มผลผลิตของหอยสองฝา
(Vonshak, 1997)
นอกจากนี้ การนำสารหร่ายสไปรูลิน่าผสมในอาหารลูกสุกรที่กำลังหย่านม (weanling pig) แทนการใช้ถั่วเหลืองป่น โดยคำนวณให้ปริมาณไลซีนในอาหารที่ผสม
สาหร่ายสไปรูลิน่าเท่ากับอาหารสูตรที่ใช้ถั่วเหลือง พบว่า การให้อาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่าช่วยเพิ่มสมรรถภาพการเจริญเติบโต ในลูกสุกรด้วย (Grinstead et al., 2000)
เพิ่มภูมิคุ้มกัน
การศึกษาในไก่ไข่และไก่เนื้อ พบว่า ไก่ไข่กลุ่มที่กินสาหร่ายสไปรูลิน่าจะมีไทมัส (Thymus) ใหญ่กว่าไก่ที่กินอาหารปกติอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อให้สาหร่ายสไปรูลิน่า
10,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไก่ทั้งสองชนิดมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันสูงขึ้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่
(macrophage) และการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็น Cytotoxic cell หรือ NK cell ให้สูงขึ้น (Qureshi et al., 1996; Batshan et al., 2001)
ทั้งนี้มีรายงานด้วยว่า สารสกัดด้วยน้ำของสาหร่ายสไปรูลิน่า ช่วยทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่แยกได้จากไก่มีการจับกินเชื่อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม
ด้วยวิธีฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) ได้สูงขึ้น นอกจากนี้ไก่ที่กินอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่ามีอัตราการกำจัดแบคทีเรีย (bacherial clearing rate)
เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับไก่ที่กินอาหารปกติ (Qureshi et al., 1994; Qureshi et al, 1995)
เพิ่มสี และคุณภาพอื่นๆ
สาหร่ายสไปรูลิน่าสามารถช่วยเพิ่มสีของไข่แดง และสีของเนื้อสัตว์ให้มีสีสันดีขึ้นมีรายงานว่า ไข่แดงของไก่มีสีเพิ่มขึ้นภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากนกกินอาหาร
ผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า โดยสีจะมีความเข้มสูงสุดหลักนกกินอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า 7 วัน และในการให้คะแนนสีไข่นกด้วยสายตาพบว่า สีไข่ของนกที่กิน
อาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่าจะมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน (13.0 - 14.8) ขณะที่สีไข่ของนกที่กินอาหารผสมข้าวโพดเหลืองมีคะแนนน้อยกว่า (4.7 - 8.0)
(Sexena et al., 1983) ทั้งนี้มีรายงานว่า แคโรทีนอยด์ในสาหร่ายสไปรูลิน่ามีส่วนช่วยให้ไข่แดงของไข่ไก่ และไข่นกกระทามีสีเพิ่มขึ้น (Ross and Dominy, 1990; Anderson et al., 1991)
ผลงานวิจัยในกุ้งพบว่า เพื่อกุ้งกุลาดำกินอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า 3% เป็นเวลา 14-28 วัน เปลือกกุ้งจะมีปริมาณแคโรทีนอยด์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ผู้วิจัยคาดว่า
เนื่องจากแคโรทีนอยด์ในสาหร่ายสไปรูลิน่ามีซีแซนทินเป็นองค์ประกอบซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นแดสทาแซนทินในกุ้งอย่างรวดเร็ว โดยสาหร่ายสไปรูลิน่ามีประสิทธิภาพ
ในการเพิ่มสีสันมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการผสมแคโรทีนอยด์จากแหล่งอื่นๆ (Liao et al, 1993) ทั้งนี้มีงานวิจัยลักษณะเดียวกันที่ใช้อาหารที่องค์ประกอบของ
แคโรทีนอยด์ต่างกันแสดงให้เห็นว่า สีเนื้อและเปลือกของกุ้งคูรุม่า Marsupenaeus japonicus Bate ที่กินอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า (Spirulina pacifica)
ไม่แตกต่างจากสีเนื่อและเปลือกของกุ้งคุรูม่าที่กินสาหร่ายซึ่งมีองค์ประกอบของแคโรทีนอยด์เป็นแอสทาแซนทิน หรือกุ้งคูรุม่าที่กินแอสทาแซนทินสังเคราะห์
กุ้งคูรุม่าที่กินอาหารปกติจะมีสีแอสทาแซนทินที่เนื้อและเปลือกน้อยกว่ากลุ่มที่กินอาหารผสมแคโรทีนอยด์ 66.4% (เนื้อ) และ 75.5% (เปลือก) ตามลำดับ
สนใจสาหร่ายสไปรูลิน่า สำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทรศัพท์ 083 002 5544
ราคาขาย
|
450 บาท
|
|